วันพฤหัสบดีที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2558

หน่วยที่ 8 ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

การแลกเปลี่ยนความร่วมมือระหว่างกัน

การแลกเปลี่ยนความร่วมมือระหว่างกัน
1. ประธานาธิบดี ฌาคส์ ชีรัค
1.1 นายกรัฐมนตรีไทยเยือนฝรั่งเศสอย่างเป็นทางการครั้งแรกระหว่างวันที่ 12-13 พฤษภาคม พ.ศ. 2546 และครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 9 -11 ตุลาคม พ.ศ. 2548
1.2 ประธานาธิบดีพบหารือกับายกรัฐมนตรีรวม 4 ครั้ง คือ ครั้งแรก เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2546 ในระหว่างการเยือนฝรั่งเศสอย่างเป็นทางการ ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2547 เป็นการหารือนอกรอบการประชุม ASEM ครั้งที่ 5 ที่กรุงฮานอย ครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2548 ในระหว่างการเยือนฝรั่งเศสอย่างเป็นทางการ และล่าสุดเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 ในระหว่างการเยือนไทยอย่างเป็นทางการ (State Visit) ของ ประธานาธิบดีชีรัค เพิ่มเติม


หน่วยที่ 8 ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

การประสานประโยชน์ร่วมกันระหว่างประเทศ

         การประสานประโยชน์ หมายถึง การร่วมมือกันเพื่อรักษาและป้องกันผลประโยชน์ของตน หรือระงับความขัดแย้งที่เกิดขึ้นจากการแข่งขันทางการเมือง เศรษฐกิจระหว่างประเทศ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเป็นความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล กลุ่มบุคคล หรือสังคม ซึ่งเกิดขึ้นข้ามขอบเขตของกลุ่มสังคมการเมืองหนึ่ง ๆ ในกรณีความสัมพันธ์ระหว่างคนไทยด้วยกัน หรือกลุ่มคนไทยด้วยกันในประเทศไทย ไม่ใช่ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ แต่ความสัมพันธ์ระหว่างคนไทยกับคนลาวถือว่าเป็นความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความร่วมมือ และความขัดแย้งระหว่างประเทศ เพิ่มเติม


หน่วยที่ 7 สิทธิมนุษยชน

สิทธอมนุษยชนในประเทศไทย

        รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับปัจจุบัน (พ.ศ. 2550) ซึ่งร่างขึ้นโดย องค์กรซึ่งได้รับแต่งตั้งจากคณะผู้ยึดอำนาจการปกครองขณะนั้น ระบุไว้ในมาตรา 4 ว่า "ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคลย่อมได้รับความคุ้มครอง" มาตรา 26 ถึง 69 ได้บรรยายขอบเขตของสิทธิเฉพาะในบางด้าน เช่น ความยุติธรรมทางอาญา การศึกษา การไม่เลือกปฏิบัติ ศาสนา และเสรีภาพในการแสดงออก เพิ่มเติม


หน่วยที่ 7 สิทธิมนุษยชน

สิทธิมนุษยชน

              สิทธิขั้นพื้นฐานที่มนุษย์ทุกคนได้รับอย่างเสมอภาคกันเพื่อให้สามารถดำรงชีวิตได้อย่างสันติสุข มีศักดิ์ศรี มีเสรีภาพ มีไมตรีจิต และมีความเมตตาต่อกัน โดยไม่คำนึงถึงความแตกต่างในเรื่องเชื้อชาติ สีผิว เพศ อายุ ภาษา ศาสนา สถานภาพทางกาย หรือสุขภาพ เพิ่มเติม


หน่วยที่ 6 กฎหมาย

ข้อตกลงระหว่างประเทศ

         ปัญหาการถูกทำลายของชั้นโอโซนได้ถูกหยิบยกมาอภิปรายโดยองค์การสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ
(United Nations Environment  Programme,  UNEP) ซึ่งได้จัดตั้งคณะกรรมการประสานงานเรื่องชั้นโอโซน
ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนจากองค์กรต่างๆ เช่นองค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (WMO) รับผิดชอบเรื่องแผนวิจัยด้าน
บรรยากาศ องค์การอนามัยโลก (WHO) และ องค์กรเอกชน (NGO) ต่อมาจึงกลายมาเป็นปฏิบัติการระหว่าง
ประเทศที่จะควบคุมสารซีเอฟซี ( CFCs) เพิ่มเติม


หน่วยที่ 6 กฎหมาย

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับชุมชนและประเทศ

            กฎหมาย เป็นระบบของกฎและแนวทางปฏิบัติซึ่งบังคับใช้ผ่านสถาบันทางสังคมเพื่อควบคุมพฤติกรรม ในทุกที่ที่เป็นไปได้ กฎหมายก่อร่างการเมือง เศรษฐศาสตร์และสังคมในหลายวิถีทาง และใช้เป็นสื่อกลางความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในทางสังคม กฎหมายสัญญาวางระเบียบทุกอย่างตั้งแต่การซื้อตั๋วรถโดยสารประจำทางถึงการซื้อขายบนตลาดตราสารอนุพันธ์ กฎหมายว่าด้วยทรัพย์สินนิยามสิทธิและหนี้ซึ่งเกี่ยวข้องกับการโอนและกรรมสิทธิ์ของสังหาริมทรัพย์ส่วนตัวและอสังหาริมทรัพย์ เพิ่มเติม

วันพฤหัสบดีที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2558

หน่วยที่ 5 การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ

             ตามที่คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญได้จัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่แล้วเสร็จ เพื่อเผยแพร่ให้มีการพิจารณาให้ข้อคิดเห็น เพื่อสภาร่างรัฐธรรมนูญจะได้พิจารณาในขั้นตอนการแปรญัตติก่อนที่จะเป็นร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่มีความสมบูรณ์สำหรับให้ประชาชนคนไทยทั้งประเทศได้ออกเสียงประชามติต่อไปนั้น. เมื่อมาพิจารณาถึงสาระสำคัญของร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้แล้วจะพบว่าต้องการที่จะแก้ปัญหาของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ ที่ก่อให้เกิดการผูกขาดอำนาจอย่างไม่เป็นธรรมการดำเนินการทางการเมืองที่ขาดความโปร่งใส ไม่มีคุณธรรมและจริยธรรม ระบบการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐที่ล้มเหลว และการใช้สิทธิและเสรีภาพของประชาชนยังไม่ได้รับการคุ้มครองและส่งเสริมอย่างเต็มที่ ดังนั้น จึงมีสาระสำคัญที่มุ่งจะแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยดำเนินการใน ๔ แนวทางด้วยกัน คือ

          ๑. การคุ้มครอง ส่งเสริม และการขยายสิทธิและเสรีภาพของประชาชนอย่างเต็มที่
          ๒. การลดการผูกขาดอำนาจรัฐและขจัดการใช้อำนาจอย่างไม่เป็นธรรม
          ๓. การทำให้การเมืองมีความโปร่งใส มีคุณธรรมและจริยธรรม
          ๔. การทำให้ระบบตรวจสอบมีความเข้มแข็งและทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 


หน่วยที่ 5 การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

รัฐ

             รัฐ คือ กลไกทางการเมืองโดยมีอำนาจอธิปไตยปกครองดินแดนทางภูมิศาสตร์ที่มีอาณาเขตและมีประชากรแน่นอน โดยอำนาจดังกล่าวเบ็ดเสร็จทั้งภายในและภายนอกรัฐ ไม่ขึ้นกับรัฐอื่นหรืออำนาจอื่นจากภายนอก และอาจกล่าวได้ว่า รัฐสามารถคงอยู่ได้แม้จะไม่ได้รับการรับรองจากรัฐอื่น เพียงแต่รัฐที่ไม่ได้รับการรับรองเหล่านี้ มักจะพบว่าตนประสบอุปสรรคในการเจรจาสนธิสัญญากับต่างประเทศและดำเนินกิจการทางการทูตกับรัฐอื่น องค์ประกอบสำคัญของรัฐ มี 4 ประการ คือ

1. ประชากร รัฐทุกรัฐจะต้องมีประชากรจำนวนหนึ่งซึ่งเป็นกลุ่มคนที่มีจุดมุ่งหมายและมีประโยชน์ร่วมกัน จำนวนประชากรของแต่ละรัฐอาจมีมากน้อยแตกต่างกันไป ที่สำคัญคือ จะต้องมีประชากรดำรงชีพอยู่ภายในขอบเขตของรัฐนั้น

2. ดินแดน รัฐต้องมีดินแดนอันแน่นอนของรัฐนั้น กล่าวคือ มีเส้นเขตแดนเป็นที่ยอมรับของนานาประเทศทั้งโดยข้อเท็จจริงและโดยสนธิสัญญา ทั้งนี้รวมถึงพื้นดิน พื้นน้ำและพื้นอากาศ

3. อำนาจอธิปไตย อำนาจอธิปไตย คือ อำนาจรัฐ หมายถึง อำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ ทำให้รัฐสามารถดำเนินการทั้งในส่วนที่เกี่ยวกับการปกครองภายในและภายนอก

4. รัฐบาล รัฐบาลคือ องค์กรหรือหน่วยงานที่ดำเนินงานของรัฐในการปกครองประเทศ รัฐบาลเป็นผู้ทำหน้าที่สาธารณะสนองเจตนารมย์ของสาธารณชนในรัฐ เพื่อรักษาผลประโยชน์ของประชาชนและป้องกันการรุกรานจากรัฐอื่น รัฐบาลเป็นองค์กรทางการเมืองที่ขาดไม่ได้ของรัฐ  เพิ่มเติม



หน่วที่ 4 พลเมืองดี

คุณลักษณะของพลเมืองดี

คุณลักษณะของพลเมืองดีที่สำคัญและจำเป็นสำหรับการอยู่ร่วมกันอย่างราบรื่น  และช่วยจรรโลงให้สังคมประเทศชาติและโลกพัฒนาก้าวหน้า  มีดังนี้

1.ต้องเป็นบุคคลที่เคารพกฏหมาย
2.ต้องเป็นบุคคลที่เคารพสิทธิและเสรีภาพของตนเองและบุคคลอื่น
3.ต้องเป็นบุคคลที่มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ที่มีต่อครอบครัว  ดรงเรียน  ชุมชน  ประเทศชาติ  และสังคมโลก
4.ต้องเป็นบุคคลที่มีเหตุผล  ใจกว้าง  และรับฟังความคิดเห็นของคนบุคคลอื่นเสมอ
5.ต้องเป็นบุคคลที่มีคุณธรรมและจริยธรรมในการดำเนินชีวิตประจำวัน
6.ต้องเป็นบุคคลที่มีความกระตือรือร้นที่จะเข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาของชุมชน  ประเทศชาติ  และสังคมโลก  หรือองค์กรที่ตนสังกัดอยู่  เช่น  ร่วมกันแก้ไขปัญหาและพัฒนาสภาพแวดล้อมของโรงเรียนและชุมชนให้ดีขึ้น  เป็นต้น
7.ต้องเป็นบุคคลที่มีความสนใจและกระตือรือร้นที่จะเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ทางการเมืองการปกครอง  เช่น  การไปใช้สิทธิเลือกตั้ง  เป็นต้น เพิ่มเติม



หน่วยที่ 4 พลเมืองดี

พลเมืองดี

 1.ความสำคัญของการปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีการปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีของสังคมมีความสำคัญต่อประเทศ เช่น
        1. ทำให้สังคมและประเทศชาติมีการพัฒนาไปได้อย่างมั่นคง
        2. ทำให้สังคมมีความเป็นระเบียบเรียบร้อย
        3. ทำให้เกิดความรักแบะความสามัคคีในหมู่คณะ
        4. สมาชิกในสังคมอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข
การปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีนั้นเป็นหน้าที่ของสมาชิกทุกคนในสังคม ไม่ว่าจะอยู่ในสังคมขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่
 2.แนวทางการพัฒนาตนเองเพื่อเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัวโรงเรียนและชุมชนแนวทางการพัฒนาตนเองเพื่อเป็นสมาขิกที่ดีมีแนวทางปฏิบัติ ดังนี้
        1. การเป็นสมาชิกที่ดีขอบครอบครัว
        2. การเป็นสมาชิกที่ดีของโรงเรียน
        3. การเป็นสมาชิกที่ดีของชุมชน
เมื่อทุกคนในสังคมไม่ว่าผู้ใหญ่หรือเด็กพัฒนาตนเองให้เป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว โรงเรียน และชุมชน ได้จะประสบความสำเร็จ
 3. คุณธรรมของการเป็นพลเมืองดี
        1. การเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม
        2. การมีระเบียบวินัยและรับผิดชอบต่อหน้าที่
        3. รับฟังความคิดเป็นขอบกันและกันและเคารพในมติของเสียงส่วนมาก
        4. ความซื่อสัตย์สุจริต
        5. ความสามัคคี
        6. ความละอายและเกรงกลัวในการกระทำชั่ว
        7. ความกล้าหาญและเชื่อมั่นในตนเอง

        8. การส่งเสริมให้คนดีปกครองบ้านเมืองและควบคุมคนไม่ดีไม่ให้มีอำนาจ เพิ่มเติม


หน่วยที่ 3 วัฒนธรรม

การเปลี่ยนแปลงและการอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย

สังคมไทยก็เหมือนกับสังคมมนุษย์ทั้งหลายในโลกที่ไม่หยุดอยู่นิ่งๆ หากมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับสังคมอื่นๆ ในระดับเดียวกันแล้ว ก็อาจกล่าวได้ว่า มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วจนคนส่วนใหญ่ ในสังคมปรับตัวเองไม่ทัน จนเกิดปัญหาทาง เพิ่มเติม


หน่วยที่ 3 วัฒนธรรม

วัฒนธรรมไทย


วัฒนธรรมคือความเจริญก้าวหน้าของมนุษย์ หรือลักษณะประจำชนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งที่อยู่ในสังคม ซึ่งไม่เพียงแต่จะหมายถึงความสำเร็จในด้านศิลปกรรมหรือมารยาททางสังคมเท่านั้น  กล่าวคือ ชนทุกกลุ่มต้องมีวัฒนธรรม ดังนั้น เมื่อมีความแตกต่างระหว่างชนแต่ละกลุ่ม ก็ย่อมมีความแตกต่างทางวัฒนธรรมนั่นเอง เช่น ชาวนาจีน กับชาวนาในสหรัฐอเมริกา ย่อมมีความแตกต่างกัน เพิ่มเติม


หน่วยที่ 2 การเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาทางสังคม

ปัญหาทางสังคม

            ปัญหาสังคม หมายถึง สภาวะการณ์ที่มีผลกระทบกระเทือนต่อคนจำนวนมากในสังคมและเห็นว่าควรร่วม กันแก้ปัญหานั้นให้ดีขึ้น
       สาเหตุของปัญหาสังคม
1เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เช่น การเปลี่ยนเป็นสังคมเมือง การเปลี่ยนจากสังคมเกษตรกรรมเป็นสังคมอุตสาหกรรม การเป็นค่านิยมใหม่ ๆ ทำให้เกิดปัญหาสังคมขึ้น
2.เกิดจากสมาชิกในสังคมบางกลุ่มไม่ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ที่สังคมวางไว้ เช่น เกิดความขัดแย้งระหว่างกฎเกณฑ์กับความมุ่งหมาย เกิดความล้มเหลวของกระบวนการขัดเกลาทางสังคม หรือสมาชิกบางกลุ่มที่สร้างความเดือดร้อนให้ แก่สังคม ทำให้เกิดการขาดระเบียบและเป็นปัญหาทางสังคมขึ้น
3.เกิดจากการที่กลุ่มสังคมต่าง ๆ มีความคิดเห็นความต้องการและผลประโยชน์ขัดกันไม่ยอมร่วมมือแก้ไขปัญหา ของสังคม เช่น การเอาเปรียบลูกจ้าง เป็นต้น เพิ่มเติม


หน่วยที่ 2 การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาทางสังคม

การเปลี่ยนแปลงทางสังคม

          สังคมมนุษย์มีลักษณะเช่นเดียวกับปรากฏการณ์ธรรมชาติต่าง ๆ คือ มีการเปลี่ยนแปลง บางสังคมเปลี่ยนแปลงช้าขณะที่บางสังคมเปลี่ยนเร็ว ในอดีตสังคมส่วนใหญ่เปลี่ยนแปลงอย่างช้า ๆ จนเกือบไม่มีอะไรเปลี่ยนอย่างสำคัญในรอบร้อยปี แต่ในระยะประมาณร้อยปีที่แล้วสังคมจำนวนหนึ่งเปลี่ยนแปลงอย่างมากจากสภาพสังคมแบบโบราณกลายเป็นสังคมสมัยใหม่ ที่เห็นชัดเจนคือการเปลี่ยนจากสังคมแบบเกษตรกรรมมาเป็นสังคมอุตสาหกรรม จากสังคมแบบชนบทมาเป็นสังคมเมือง เป็นต้น เนื้อหาต่อไปจะเป็นการนำเสนอเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมในประเด็นต่างๆ เพิ่มเติม


หน่วยที่ 1 สังคม

การจัดระเบียบทางสังคม

          การจัดระเบียบทางสังคมชี้ไปถึงการกระทำร่วมกันอย่างสงบในหมู่ชนที่แตกต่างกันในสังคม คนส่วนมากทำงานโดยมีจุดมุ่งหมายที่เป็นอุปสรรคและการยอมรับตามบทบาทและตำแหน่งอันมีอยู่ เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยทางสังคม นอกจากนั้น สมาชิกของสังคมควรมีรูปแบบในจุดประสงค์ จุดมุ่งหมาย และแผนต่าง ๆ ร่วมกัน เพิ่มเติม


หน่วยที่ 1 สังคม

โครงสร้างทางสังคม

           โครงสร้างทางสังคม หมายถึง ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลจำนวนหนึ่ง ซึ่งมีแบบแผนในการปฏิบัติร่วมกัน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายเดียวกัน โครงสร้าง ของสังคม เปรียบได้กับบ้านเรือนที่เราอาศัยอยู่อย่าง สมบูรณ์ ประกอบด้วย โครงสร้างที่สำคัญหลายอย่าง เช่น คาน หลังคา พื้น ฝา ประตู หน้าต่าง เป็นต้น โครงสร้างของสังคมก็เช่นเดียวกัน ย่อมประกอบด้วยกลุ่มคน สถาบันทางสังคม และสถานภาพ บทบาทของคนในสังคม เพิ่มเติม