วันพฤหัสบดีที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2558

หน่วยที่ 8 ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

การแลกเปลี่ยนความร่วมมือระหว่างกัน

การแลกเปลี่ยนความร่วมมือระหว่างกัน
1. ประธานาธิบดี ฌาคส์ ชีรัค
1.1 นายกรัฐมนตรีไทยเยือนฝรั่งเศสอย่างเป็นทางการครั้งแรกระหว่างวันที่ 12-13 พฤษภาคม พ.ศ. 2546 และครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 9 -11 ตุลาคม พ.ศ. 2548
1.2 ประธานาธิบดีพบหารือกับายกรัฐมนตรีรวม 4 ครั้ง คือ ครั้งแรก เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2546 ในระหว่างการเยือนฝรั่งเศสอย่างเป็นทางการ ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2547 เป็นการหารือนอกรอบการประชุม ASEM ครั้งที่ 5 ที่กรุงฮานอย ครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2548 ในระหว่างการเยือนฝรั่งเศสอย่างเป็นทางการ และล่าสุดเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 ในระหว่างการเยือนไทยอย่างเป็นทางการ (State Visit) ของ ประธานาธิบดีชีรัค เพิ่มเติม


หน่วยที่ 8 ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

การประสานประโยชน์ร่วมกันระหว่างประเทศ

         การประสานประโยชน์ หมายถึง การร่วมมือกันเพื่อรักษาและป้องกันผลประโยชน์ของตน หรือระงับความขัดแย้งที่เกิดขึ้นจากการแข่งขันทางการเมือง เศรษฐกิจระหว่างประเทศ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเป็นความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล กลุ่มบุคคล หรือสังคม ซึ่งเกิดขึ้นข้ามขอบเขตของกลุ่มสังคมการเมืองหนึ่ง ๆ ในกรณีความสัมพันธ์ระหว่างคนไทยด้วยกัน หรือกลุ่มคนไทยด้วยกันในประเทศไทย ไม่ใช่ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ แต่ความสัมพันธ์ระหว่างคนไทยกับคนลาวถือว่าเป็นความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความร่วมมือ และความขัดแย้งระหว่างประเทศ เพิ่มเติม


หน่วยที่ 7 สิทธิมนุษยชน

สิทธอมนุษยชนในประเทศไทย

        รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับปัจจุบัน (พ.ศ. 2550) ซึ่งร่างขึ้นโดย องค์กรซึ่งได้รับแต่งตั้งจากคณะผู้ยึดอำนาจการปกครองขณะนั้น ระบุไว้ในมาตรา 4 ว่า "ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคลย่อมได้รับความคุ้มครอง" มาตรา 26 ถึง 69 ได้บรรยายขอบเขตของสิทธิเฉพาะในบางด้าน เช่น ความยุติธรรมทางอาญา การศึกษา การไม่เลือกปฏิบัติ ศาสนา และเสรีภาพในการแสดงออก เพิ่มเติม


หน่วยที่ 7 สิทธิมนุษยชน

สิทธิมนุษยชน

              สิทธิขั้นพื้นฐานที่มนุษย์ทุกคนได้รับอย่างเสมอภาคกันเพื่อให้สามารถดำรงชีวิตได้อย่างสันติสุข มีศักดิ์ศรี มีเสรีภาพ มีไมตรีจิต และมีความเมตตาต่อกัน โดยไม่คำนึงถึงความแตกต่างในเรื่องเชื้อชาติ สีผิว เพศ อายุ ภาษา ศาสนา สถานภาพทางกาย หรือสุขภาพ เพิ่มเติม


หน่วยที่ 6 กฎหมาย

ข้อตกลงระหว่างประเทศ

         ปัญหาการถูกทำลายของชั้นโอโซนได้ถูกหยิบยกมาอภิปรายโดยองค์การสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ
(United Nations Environment  Programme,  UNEP) ซึ่งได้จัดตั้งคณะกรรมการประสานงานเรื่องชั้นโอโซน
ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนจากองค์กรต่างๆ เช่นองค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (WMO) รับผิดชอบเรื่องแผนวิจัยด้าน
บรรยากาศ องค์การอนามัยโลก (WHO) และ องค์กรเอกชน (NGO) ต่อมาจึงกลายมาเป็นปฏิบัติการระหว่าง
ประเทศที่จะควบคุมสารซีเอฟซี ( CFCs) เพิ่มเติม


หน่วยที่ 6 กฎหมาย

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับชุมชนและประเทศ

            กฎหมาย เป็นระบบของกฎและแนวทางปฏิบัติซึ่งบังคับใช้ผ่านสถาบันทางสังคมเพื่อควบคุมพฤติกรรม ในทุกที่ที่เป็นไปได้ กฎหมายก่อร่างการเมือง เศรษฐศาสตร์และสังคมในหลายวิถีทาง และใช้เป็นสื่อกลางความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในทางสังคม กฎหมายสัญญาวางระเบียบทุกอย่างตั้งแต่การซื้อตั๋วรถโดยสารประจำทางถึงการซื้อขายบนตลาดตราสารอนุพันธ์ กฎหมายว่าด้วยทรัพย์สินนิยามสิทธิและหนี้ซึ่งเกี่ยวข้องกับการโอนและกรรมสิทธิ์ของสังหาริมทรัพย์ส่วนตัวและอสังหาริมทรัพย์ เพิ่มเติม

วันพฤหัสบดีที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2558

หน่วยที่ 5 การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ

             ตามที่คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญได้จัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่แล้วเสร็จ เพื่อเผยแพร่ให้มีการพิจารณาให้ข้อคิดเห็น เพื่อสภาร่างรัฐธรรมนูญจะได้พิจารณาในขั้นตอนการแปรญัตติก่อนที่จะเป็นร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่มีความสมบูรณ์สำหรับให้ประชาชนคนไทยทั้งประเทศได้ออกเสียงประชามติต่อไปนั้น. เมื่อมาพิจารณาถึงสาระสำคัญของร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้แล้วจะพบว่าต้องการที่จะแก้ปัญหาของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ ที่ก่อให้เกิดการผูกขาดอำนาจอย่างไม่เป็นธรรมการดำเนินการทางการเมืองที่ขาดความโปร่งใส ไม่มีคุณธรรมและจริยธรรม ระบบการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐที่ล้มเหลว และการใช้สิทธิและเสรีภาพของประชาชนยังไม่ได้รับการคุ้มครองและส่งเสริมอย่างเต็มที่ ดังนั้น จึงมีสาระสำคัญที่มุ่งจะแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยดำเนินการใน ๔ แนวทางด้วยกัน คือ

          ๑. การคุ้มครอง ส่งเสริม และการขยายสิทธิและเสรีภาพของประชาชนอย่างเต็มที่
          ๒. การลดการผูกขาดอำนาจรัฐและขจัดการใช้อำนาจอย่างไม่เป็นธรรม
          ๓. การทำให้การเมืองมีความโปร่งใส มีคุณธรรมและจริยธรรม
          ๔. การทำให้ระบบตรวจสอบมีความเข้มแข็งและทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ